🌼สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์🌼
เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยโรงเรียนเทศบาล 3 (โศภณพิทยาคุณานุสรณ์) อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา
โดย
ธนวรรณ มณี
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาสมมติฐานของการวิจัยเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหามีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย
1. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยอันเป็นพื้นฐานการเรียนวิทยาศาสตร์ที่ต้องอาศัยทักษะการสังเกตการทดลองศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริงแก้ปัญหาและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. เป็นแนว ทางสำหรับครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก เพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัยหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจั
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนเทศบาล 3 โศภนพิทยาคุณานุสรณ์สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลามีนักเรียนทั้งสิ้น 132 คนจำนวน 4 ห้องเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โดยโรงเรียนเทศบาล 3 โศภนพิทยาคุณานุสรณ์สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่อำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลาจำนวน 1 ห้องเรียนจำนวนนักเรียนทั้ง 13 คนโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม
ระยะเวลา
ระยะเวลาในการทดลองการทดลองในครั้งนี้กระทำในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ใช้เวลาทดลองเป็นเวลา 4 สัปดาห์สัปดาห์ละ 5 ครั้งในกิจกรรมเสริมประสบการณ์ 20 นาที 1สัปดาห์/1ชั่วโมง 40 นาที
ตัวแปรการศึกษา
ตัวแปรต้น คือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหา
ตัวแปรตาม คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย 5 ทักษะดังนี้
1. ทักษะการสังเกตทักษะ
2. ทักษะการวัด
3. ทักษะการจำแนกประเภท
4. ทักษะการสื่อความหมาย
5. การลงความเห็นจากข้อมูล
สรุปผลการวิจัย
1.ด้านทักษะการสังเกต หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสังเกตหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
2. ด้านทักษะการวัด หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสังเกตหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
3.ด้านทักษะการจำแนกประเภท หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสังเกตหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
4.ด้านทักษะการสื่อความหมาย หลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสังเกตหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
5.ด้านทักษะการลงความเห็นจากข้อมูลหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหาพบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ 01 โดยนักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการสังเกตหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น